การทำ Intermediate Check ของเครื่องชั่ง
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเครื่องชั่งในระหว่างการทำงานว่ายังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามคุณสมบัติที่ผู้ผลิตได้ระบุไว้หรือไม่ เนื่องจากเมื่อมีการใช้งานเครื่องชั่งไประยะหนึ่ง เครื่องชั่งอาจมีการเบี่ยงเบนไป ทำให้ค่าที่อ่านได้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้
ขั้นตอนการทำ Intermediate Check
การเตรียมความพร้อมของเครื่องชั่ง และ ตุ้มน้ำหนัก
- ควรติดตั้งบนโต๊ะ แท่นวาง หรือพื้น ที่มีความมั่นคง ไม่เอนไปมา และไม่ยุบตัว
ไม่ควรใช้งานในสถานที่ ที่มีแรงสั่นสะเทือน หรือมีลมพัดแรง
การเตรียมความพร้อมของเครื่องชั่ง และ ตุ้มน้ำหนัก
เครื่องชั่ง Electronic Balance
– เปิดเครื่องชั่งทิ้งไว้เป็นอย่างน้อย 30 นาที ก่อนการใช้งาน
– กระตุ้น (Exercise) การทำงานของเครื่องชั่ง โดยการวางน้ำหนักขนาดใกล้เคียงกับค่าพิสัยสามารถสูงสุดซ้ำๆหลายๆครั้ง (ประมาณ 10 ครั้ง) บนจานเครื่องชั่ง
– ปรับระดับน้ำของเครื่องชั่งให้อยู่ ณ ตำแหน่งตรงกลาง
| ||||||
|
ตุ้มน้ำหนัก Weight
– เลือกตุ้มน้ำหนักช่วงที่ใช้งาน
– หลังทำความสะอาดด้วยแปรงขนนุ่ม นำตุ้มน้ำหนักไปวางใกล้บริเวณเครื่องชั่ง ประมาณ 30 นาที
การเก็บข้อมูลสำหรับทำ Control Chart
- นำตุ้มน้ำหนักมาวางบนเครื่องชั่ง ณ ตำแหน่งตรงกลางจานเครื่องชั่ง
- ทำการจดบันทึกค่าจนครบ 10 ครั้ง ของ 1 วัน
- ต้องทำหลังสอบเทียบทันที่
- ทำซ้ำจนครบ 10 วัน เป็นอย่างน้อย
- นำค่าที่ได้มาในแต่ละวันคำนวณหาค่าเฉลี่ย (Average) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
- นำค่าที่ได้มาคำนวณหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)ในแต่ละวัน มาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้ง
การกำหนด Control Line
- บันทึกค่า Mean ที่ได้เป็นเส้น Center Line
- พลอตค่า + 3SD เป็นค่า Upper Control Line
- พลอตค่า – 3SD เป็นค่า Lower Control Line
- กรณีที่ค่า SD ที่คำนวณได้ มีค่าน้อยกว่า Readability ของเครื่องชั่ง ให้ใช้ค่า Readability ของเครื่องชั่ง แทนค่า SD
- พลอตค่า + 2SD เป็นค่า Upper Warning Line
- พลอตค่า – 2SD เป็นค่า Lower Warning Line
- การคำนวนหาค่า 2SD คือ นำค่า SD * 2 จะได้เท่ากับ 2SD
- การคำนวนหาค่า 3SD คือ นำค่า SD * 3 จะได้เท่ากับ 3SD
- จะได้ Control Line ดังนี้
การนำ Control Chart ไปใช้งาน
- เปิดเครื่องชั่งทิ้งไว้เป็นอย่างน้อย 30 นาที ก่อนการใช้งาน
- นำตุ้มน้ำหนักมาวางบนเครื่องชั่ง ณ ตำแหน่งตรงกลางจานเครื่องชั่ง
- จากนั้นทำการพลอตกราฟที่ได้จากการชั่ง มาบันทึกผลลงใน Control Chart
การตีความผล
- จากกราฟที่บันทึกได้ ถ้าค่าที่ได้ไม่เกิน +2SD และ -2SD ให้สามารถใช้งานเครื่องชั่งได้ตามปกติ
- จากกราฟที่บันทึกได้ ถ้าค่าที่ได้เกิน +2SD แต่ไม่เกิน +3SD และ -2SD แต่ไม่เกิน -3SD แสดงว่าเครื่องชั่งนี้กำลังจะมีปัญหาจึงควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ แต่ถ้าเกินติดต่อกัน 3 ครั้งแสดงว่าเครื่องชั่งมีความเบี่ยงเบน ให้หยุดใช้งานเครื่องชั่งทันที่ และแจ้ง หน.ห้องปฏิบัติการเพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป
- ถ้าค่าที่ได้เกิน +3SD และ -3SD ให้ทำการทดสอบอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นดูผลที่ได้ หากพบว่ายังคงเกิน +3SD และ -3SD แสดงว่าเครื่องชั่งมีความเบี่ยงเบน ให้หยุดใช้งานเครื่องชั่ง และแจ้ง หน.ห้องปฏิบัติการเพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป
การใช้งานเครื่องชั่ง
1ใช้งานในพิสัยที่เหมาะสม ไม่ควรวางน้ำหนักเกินค่า Cap ของเครื่องชั่ง
2ไม่ควรโยน หรือวางน้ำหนักกระแทกลงบนเครื่องชั่ง
3การวางน้ำหนักให้วางตรงกลางจานชั่งไม่วางเยื้องหรือวางที่มุม
4ทำความสะอาดเครื่องชั่งเป็นประจำ
5ควรมีการทวนสอบเป็นประจำเพื่อให้มั่นใจว่าสภาพของเครื่องชั่งยังไม่เปลี่ยนแปลงไป
6ควรมีการส่งสอบเทียบโดยห้องแล็บภายนอกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
7กรณีเครื่องชั่งมีปัญหาควรซ่อมให้พร้อมใช้งานก่อนสอบเทียบ