เกณฑ์การกำหนดความถี่ของการสอบเทียบ

เกณฑ์การกำหนดความถี่ของการสอบเทียบเครื่องมือ

โดยทั่วไปจึงมักจะกำหนดระยะเวลาการสอบเทียบของเครื่องมือวัดในครั้งแรกที่           6 เดือน หรือ 12 เดือนต่อการสอบเทียบหนึ่งครั้ง สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณากำหนดความถี่ของการสอบเทียบอุปกรณ์นั้น โดยทั่วไปจะพิจารณาจากองค์ประกอบดังต่อไปนี้

หลายองค์กรมักจะประสบปัญหาอย่างหนึ่ง คือ

    ไม่ทราบว่าจะกำหนดความถี่ของการสอบเทียบ อย่างไรดีจึงจะถือว่าเหมาะสม โดยทั่วไปจึงมักจะกำหนดระยะเวลาการสอบเทียบของเครื่องมือวัดในครั้งแรกที่ 6 เดือน หรือ 12 เดือนต่อการสอบเทียบหนึ่งครั้ง สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณากำหนดความถี่ของการสอบเทียบอุปกรณ์นั้น โดยทั่วไปจะพิจารณาจากองค์ประกอบเหล่านี้

1. ประวัติการสอบเทียบของอุปกรณ์ หากประวัติการสอบเทียบย้อนหลังประมาณ 2 – 3 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าความถูกต้องยังคงอยู่ในย่าน หรือไม่มีแนวโน้มแสดงให้เห็นว่าเริ่มออกนอกย่านที่กำหนด เราสามารถที่จะยืดระยะเวลาการสอบเทียบออกไปได ้แต่ในทางกลับกันหากประวัติการสอบเทียบแสดงให้เห็นว่าผลการสอบเทียบออกนอกย่านที่กำหนด ระยะเวลาการสอบเทียบต้องหดลง แม้ว่าจะมีประวัติเพียงครั้งเดียวก็ตาม

2. ลักษณะการใช้งานในจุดวิกฤตหรือไม่ เครื่องมือวัดที่ถูกติดตั้งใช้งาน ณ จุดวิกฤตของกระบวนการผลิต ย่อมต้องมีความถี่ในการสอบเทียบมากกว่าเครื่องมือวัดที่ติดตั้ง ณ จุดใช้งานทั่วไป

3. การบำรุงรักษา เครื่องมือวัดที่ผู้ใช้งานมีการเก็บดูแลบำรุงรักษาอย่างดี คาบระยะเวลาการสอบเทียบก็อาจจะนานกว่าเครื่องมือวัดที่ผู้ใช้งานไม่เคยเหลียวแล

4. ความถี่ในการใช้งาน สำหรับเครื่องมือวัดที่มีความถี่ในการใช้งานบ่อย โอกาสที่จะทำให้เครื่องมือวัดนั้นออกนอกย่านที่กำหนดจะมีมากกว่าเครื่องมือวัดที่มีความถี่ในการใช้งานน้อยกว่า ดังนั้นความถี่ในการสอบเทียบของเครื่องมือวัดเหล่านี้ก็ย่อมจะต้องมีมากกว่าด้วยเช่นกัน

5. พิจารณาจากประเภทของอุปกรณ์ กล่าวคือ อุปกรณ์ที่เรียกว่า “ * Active Equipment “ จะมีความถี่ในการสอบเทียบมากกว่าอุปกรณ์ที่เรียกว่า “ ** Passive Equipment ”
* Active Equipment คือ เครื่องมือวัดที่ต้องมีไฟเลี้ยง เช่น เครื่องชั่ง , Digital Multimeter เป็นต้น
** Passive Equipment คือ เครื่องมือที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องอาศัย
Bias supply หรือไฟเลี้ยง เช่น ตุ้มน้ำหนัก , Vernier Caliper เป็นต้น

 

 

 

 

เมื่อใดที่ต้องสอบเทียบ

          กิจกรรมสอบเทียบเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ค่าใช้จ่าย แต่การสอบเทียบก็มีความจำเป็นเพราะหากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่ามูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูล เมื่อใช้เครื่องมือวัดที่ไม่เป็นมาตรฐานค่าใช้จ่ายในการสำรวจ ซ้ำ อาจสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการสอบเทียบเครื่องมือวัด การสอบเทียบที่ทำมากเกินความจำเป็นก็อาจก่อให้เกิดความสูญเสีย งบประมาณของหน่วยงานเกินความจำเป็นเช่นเดียวกัน
          มักมีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่าเครื่องมือวัดใดที่ต้องดำเนินการสอบเทียบ และจะสอบเทียบบ่อยเพียงใดพอจะกล่าวโดยรวมได้ว่า การสอบเทียบเครื่องมือวัดจะต้องทำเมื่อใดก็ตามที่ผลการวัดของเครื่องมือวัดนั้นกระทบต่อคุณภาพของข้อมูลดังนั้น เครื่องมือวัดใดที่ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของข้อมูลก็ไม่จำเป็นต้องสอบเทียบ การกำหนดว่าเครื่องมือวัดใดต้องสอบเทียบบ้างอาจจะใช้ข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้ ให้ตั้งคำถามว่าหากเครื่องมือวัดที่ใช้ในการสำรวจอ่านค่าผิดไปจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะได้รับผลกระทบที่เสียหายต่อคุณภาพของข้อมูลหรือไม่ หากพบว่าการสำรวจขึ้นอยู่กับค่าการอ่านของเครื่องมือวัดเป็นสำคัญก็แสดงว่าเครื่องวัดนั้น ต้องดำเนินการสอบเทียบและอีกกรณีหนึ่งก็คือ เมื่อใดที่เจ้าหน้าที่มีเหตุผลที่จำเป็นต้องมั่นใจในค่าของเครื่องมือวัดก็ต้องสอบเทียบตัวอย่างเช่น เรื่องของความปลอดภัย

 

 

 

 
 
 

แหล่งที่มาของข้อมูล
EAL – G12:1995 Traceability of Measuring and Test Equipment to National Standards
บุรินทร์ ไตรชินธนโชติ , เทคนิค &วิธีการในงานสอบเทียบเครื่องมือวัด , Edition 1 Nov. 2543

ดาวน์โหลดเอกสาร 

premier system engineering

บทความเรื่อง  มาตรวิทยากับการตรวจควันดำรถยนต์